สาระน่ารู้

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

กลิ่นหอมสดชื่นของพืชและดอกไม้นานาพันธุ์ ล้วนเกิดจากน้ำมันหยดเล็กๆ ที่หลั่งออกมาซึ่งเรียกว่า “น้ำมันหอมระเหย” (essential oil) ไม่ว่าพืชหรือดอกไม้มีการผลิตน้ำมันหอมระเหยด้วยเหตุผลต่างๆ กัน บางชนิดก็ใช้เพื่อล่อแมลงให้มาผสมเกสร บางชนิดก็เพื่อป้องกันพวกกาฝากและสัตว์อื่นมารบกวน ซึ่งแม้ว่าโลกเราจะมีต้นไม้นับพันๆ ชนิด แต่มีเพียงสองร้อยกว่าชนิดที่ผลิตน้ำมันหอมระเหยได้ ซึ่งน้ำมันหอมแต่ละชนิดจะมีส่วนผสมของน้ำมันหอมระเหยที่ต่างกัน ซึ่งอาจนำมาผสมกันจนเกิดเป็นน้ำมันหอมหลายร้อยชนิดได้

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

น้ำมันหอมแต่ละชนิดล้วนมีองค์ประกอบสำคัญเพียง 3 ประการคือ “กลิ่นนำ” (top note) ซึ่งประกอบด้วยน้ำหอมที่ระเหยง่าย ส่งกลิ่นกระทบประสาทสัมผัสอย่างได้ผลในฉับพลัน ตามมาด้วย “กลิ่นตาม” (middle note) ซึ่งช่วยในการปรุงแต่งกลิ่นที่กระทบประสาทในตอนแรกอีกรอบหนึ่ง กลิ่นนี้ถือเป็น “เนื้อแท้” (perfume body) ของน้ำหอม และท้ายที่สุดคือ “กลิ่นหลัก” (base note) ซึ่งถือเป็นกลิ่นที่หอมทนทานและสร้างความประทับใจอย่างยาวนาน

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

การสกัดน้ำมันหอมด้วยวิธีกลั่นไม่อาจนำมาใช้กับพืชหรือดกไม้ได้ทุกชนิด เพราะความร้อนจะทำลายกลิ่นไม้หอมบางชนิดได้ ที่เมืองกราสส์ที่อยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศสซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตน้ำหอมยังคงสกัดกลิ่นหอมด้วยวิธีที่เรียกว่า “อองเฟลอราจ (enfleurage) เป็นการนำดอกไม้ไปโรยไว้บนไขมันสัตว์หรือไขมันหมูที่บริสุทธิ์มากๆ แล้วนำไปไว้ในห้องเย็นเป็นเวลา 1-3 วัน เพื่อให้ไขมันได้ดูดซับน้ำมันหอมจากดอกไม้ ทำให้เกิดผลผลิตที่ได้เรียกว่า “โปมาด (Pomade)” จากนั้นจึงค่อยๆ ใส่แอลกอฮอล์ลงไปเพื่อละลายไขมันที่ไม่ต้องการ สิ่งที่จะได้คือน้ำมันหอมในสารละลายแอลกอฮอล์ซึ่งพร้อมที่จะนำไปผสมทำน้ำหอมต่อไป โดยแหล่งผลิตตามที่ต่างๆ มักจะผลิตหัวน้ำหอมได้ปีละไม่กี่ตัน ทำให้ผู้ผลิตน้ำหอมนำน้ำมันหอมระเหยไปปรุงแต่งเป็นกลิ่นต่างๆ ด้วยวิธีที่เป็นศิลปะแห่งความซับซ้อนและละเอียดอ่อน

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

น้ำมันประเภทกลิ่นไม้ดอกที่ไม่ว่าจะนำมาผสมกลิ่นกุหลาบหรือกลิ่นดอกพุด ส่วนน้ำหอมประเภทกลิ่นอายตะวันออก อย่าง กลิ่นสมุนไพรหรือกลิ่นเครื่องเทศมักจะผสมกลิ่นอบเชย หรือกลิ่นลูกจันทน์เทศ แม้แต่น้ำมันหอมหลังโกนหนวดยังมีกลิ่นเครื่องเทศ กลิ่นไม้ และกลิ่นหนังสัตว์ที่เป็นกลิ่นเด่น ซึ่งปัจจุบันมีการผลิตน้ำหอมด้วยวิธีสังเคราะห์ทางเคมี ซึ่งผลิตได้ปริมาณมากและราคาถูกกว่าจากสารธรรมชาติ น้ำหอมที่ปรุงแต่งกลิ่นเสร็จแล้วมักประกอบด้วยหัวน้ำมันหอมระเหยอย่างน้อย 20-30 ชนิด หรืออาจจะมากกว่า 300 ชนิด เมื่อปรุงเสร็จแล้วก็นำไปขายในรูปแบบต่างๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นน้ำหอมประเภทโคโลญจน์ หรือ โอ เดอ ตัว แลตต์ ที่มีหัวน้ำหอมประมาณ 2-6% ละลายอยู่ในแอลกอฮอล์ ส่วนน้ำหอม (perfume) จะมีความเข้มข้นกว่า คือจะมีหัวน้ำหอมประมาณ 10-25% ละลายอยู่ในแอลกอฮอล์

เปลี่ยนกลิ่นหอมจากพืชให้เป็นกลิ่นอายของน้ำหอม

น้ำหอมกลิ่นสังเคราะห์จะมีราคาถูกกว่าน้ำหอมที่ผลิตจากธรรมชาติมาก ทำให้วงการอุตสาหกรรมนำมาใช้ปรุงแต่งกลิ่นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องสำอาง โลชั่น สบู่ แชมพู ผลิตภัณฑ์แต่งกลิ่นอาหาร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ