ย้อนรำลึกกลิ่นอายของการไหว้ครู ..อบอวลไปด้วยกลิ่นดอกไม้ในพาน

หลังเปิดเทอมใหญ่ไม่ถึงเดือน ในช่วงต้น ๆ เดือนมิถุนายนนั้น เชื่อว่าตามร้านขายดอกไม้คงจะคึกคักกันทั่วประเทศ นั่นเป็นเพราะว่าในช่วงเดือนมิถุนายนของทุกปีจะมีวิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดี ส่วนจะเป็นวันที่เท่าไหร่นั้นขึ้นอยู่กับทางโรงเรียนเป็นผู้กำหนด ซึ่งพิธีไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่เป็นประเพณีของไทยที่เราต่างก็นิยมปฏิบัติกันมาแต่สมัยโบราณ โดยเป็นการแสดงถึงความระลึกถึงบุญคุณของครู ส่งผลทำให้มีการไหว้ครูทีเป็นการแสดงตนว่าขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง
พิธีไหว้ครูตามหลักความจริงแล้วจะมีใช้ในหลายกิจกรรมมาก ไม่ว่าจะเป็นการไหว้ครูในโรงเรียน และพิธีกรรมของโรงเรียนในวันครู การไหว้ครูมวย ที่เป็นการไหว้ครูด้วยลีลาของศิลปะมวยไทย ไม่ต่างกับการรำกระบี่กระบองที่มีการไหว้ครูเช่นกัน รวมทั้งการไหว้ครูก่อนการแสดงศิลปะดนตรี อย่างหนังตะลุง ลิเก การละเล่นพื้นบ้านต่าง ๆ รวมถึงการไหว้ครูในงานประพันธ์ เรียกว่า บทไหว้ครู หรือ อาเศียรวาท ซึ่งเป็นการกล่าวระลึกถึงบุญคุณครู เพื่อขอความเป็นมงคล
แต่การไหว้ครูไหน ๆ ก็คงจะไม่คึกคักเท่ากับการทำพิธีไหว้ครูในโรงเรียน ซึ่งเชื่อว่าทุกคนคงจะเคยผ่านมามาอย่างแน่นอน โดยความโดดเด่นในพิธีไหว้ครูในโรงเรียนก็คือ พิธีกรรมต่างๆ และการจัดพานที่สวยงาม ซึ่งเรียกได้ว่าในปัจจุบันแทบจะกลายเป็นการแข่งขันของแต่ละห้องกันไปแล้ว ด้วยการครีเอทพานดอกไม้ให้ออกมาในรูปร่าง ต่าง ๆ ที่เรียกได้ว่าเก็บรายละเอียดเต็มที่ และจะต้องอาศัยวัสดุหลากหลายชนิด เพื่อให้ดูมีสีสันสวยงามแปลกตา ซึ่งเป็นความแตกต่างจากสมัยก่อนอย่างมาก ที่จะต้องไปขุดหาดินเหนียว พานต้องมีดอกบานชื่น ดอกรัก หรือดอกดาวเรืองเป็นองค์ประกอบหลักในการจัดพาน… รวมทั้งต้นหญ้าแพรก หรือต้นอื่น ๆ ที่บังคับของพานหญิงและชายที่จะต้องมี แต่สำหรับสมัยนี้แล้วพานพิธีไหว้ครู มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิง
ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะความเจริญทางเทคโนโลยีที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ทุก ๆ แห่ง แม้แต่ในโรงเรียน จึงส่งผลทำให้แม้แต่พานไหว้ครูจึงมีความโมเดิร์นมากกว่าสมัยก่อนมาก แต่แม้ว่าจะมีดีไซน์ของการออกแบบให้เข้ากับยุคสมัยก็ตาม หากแต่ก็ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมเดิมๆ อย่างการใช้ดอกไม้เป็นส่วนหนึ่งของการตกแต่งพาน จึงทำให้ในช่วงของเดือนมิถุนายนนี้ จึงเป็นกลิ่นอายแห่งความทรงจำที่ตลบอบอวนไปด้วยการตกแต่งพานสำหรับวันไหว้ครูนั่นเอง
ดอกไม้ที่ใช้ในการไหว้ครู
ในพิธีไหว้ครูมัยก่อน จะใช้ดอกไม้หลัก 3 อย่างในการทำพาน ซึ่งเป็นดอกไม้ที่มีความหมายในการระลึกคุณครู คือ
หญ้าแพรก
สื่อถึง ขอให้เรียนได้รวดเร็วเหมือนหญ้าแพรก ที่เติบโตได้เร็วและทนต่อสภาพดินฟ้า อากาศ และอดทนต่อการเหยียบย่ำ ซึ่งเปรียบเสมือนกับคำดุด่าของครูบาอาจารย์
ดอกเข็ม
ดอกเข็มจะสื่อถึง ขอให้มีสติปัญญาเฉียบแหลม เหมือนกับชื่อของดอกเข็ม
ดอกมะเขือ
ดอกมะเขือจะสื่อถึง การเปรียบเทียบว่า มะเขือจะคว่ำดอกลงเสมอเมื่อมันจะออกลูก นั่นหมายถึงนักเรียนที่จะเรียนให้ได้ผลดีนั้นต้องรู้จักอ่อนน้อม ถ่อมตน และเป็นคนสุภาพเรียบร้อย เหมือนมะเขือที่โน้มลงนั่นเอง
ข้าวตอก
ข้าวตอกเกิดจากข้าวเปลือกที่คั่วด้วยไฟอ่อนๆ ให้ร้อนเสมอกัน และคั่วจนถึงจุดหนึ่งที่เนื้อข้างในขยายออก จนดันเปลือกให้แยกออกจากกัน ทำให้ได้ข้าวสีขาวที่ขยายเม็ดออกบาน ซึ่งสามารถนำไปประกอบในพิธีกรรม หรือทำขนมต่าง ๆ ได้ ทำให้ ข้าวตอกจึงเป็นสัญลักษณ์ของความมีระเบียบวินัย ใครสามารถทำตามกฎระเบียบและเอาชนะความซุกซนรวมทั้งความเกียจคร้านของตัวเองได้ ก็จะเหมือนข้าวตอกสีขาวที่ถูกคั่วออกจากข้าวเปลือก
สิ่งที่ต้องเตรียมในการไหว้ครู
พานดอกไม้ ประกอบด้วยพืชชนิดต่าง ไม่ว่าจะเป็นหญ้าแพรก (การเจริญงอกงามของสติปัญญา) ดอกมะเขือ ( การอ่อนน้อมถ่อมตน) ดอกเข็ม (เฉลียวฉลาด) จะใส่เท่าไรก็ตามแต่ให้สวยงาม และธูปเทียนการกลับมาได้กลิ่นอายแห่งวันวานอีกครั้ง ทำให้เกิดความรู้สึกที่เหมือนกับว่าเราได้ย้อนไปในวัยเด็กวัยเรียน ที่กำลังร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีไหว้ครูอีกด้วย