Blog
น้ำอบ..เครื่องหอมไทยๆ หลากสไตล์กลิ่นโบราณ

เครื่องหอมไทยยังมีหลายชนิด นอกเหนือจากน้ำอบไทยแล้ว ยังมีแป้งร่ำที่ปรุงจากแป้งหินแล้วนำมาผสมน้ำอบหรือน้ำปรุงจากนั้นบีบลงผ้าขาวเป็นกรวยแหลม เมื่อแห้งก็นำมาอบร่ำสามารถนำมาผัดหน้าทาตัวได้ แต่กระแจะจันทน์นั้นจะนำมาทาตัว ทาหน้าและใช้เจิมในงานมงคล ซึ่งเครื่องหอมไทย เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมานาน แต่ในปัจจุบันเริ่มจะเลือนรางหายไปบ้าง นั่นอาจเป็นเพราะวัฒนธรรมตะวันตกเข้ามาทำให้คนในยุคดิจิตอลหันไปใช้น้ำหอมฝรั่งกันมากขึ้น
น้ำปรุงหรือเครื่องหอมไทยโบราณที่ในปัจจุบันเริ่มจะหายากขึ้นทุกที ซึ่งประโยชน์ของเครื่องหอมไทยนั้นสามารถนำมาใช้ได้หลากหลายรูปแบบ มีการอนุรักษ์เครื่องหอมไทยและสืบทอดภูมิปัญญานี้เพื่อวัตถุประสงค์หลักคือต้องการให้ลูกหลานได้รู้จักและมีโอกาสได้สัมผัสกับกลิ่นหอมแบบไทยๆ และอาจจะมีการพัฒนาต่อยอดให้เป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่มีคุณค่า หรือก้าวไปสู่การผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่คงความหอมในชั้นแถวหน้าต่อไปยิ่งขึ้น
น้ำอบไทยเป็นเครื่องหอมไทยที่มีความสำคัญที่สุด เป็นเครื่องหอมชนิดหนึ่งที่มีมาแต่โบราณ เพราะส่วนใหญ่นำไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง ใช้ทาตัวหลังอาบน้ำ ทำให้เย็นสบายตัว มีกลิ่นหอมสดชื่น และยังใช้สรงน้ำพระ รดน้ำผู้ใหญ่ และใช้ในเทศกาลสำคัญต่าง ซึ่งๆน้ำอบไทย มีกลิ่นหอมรัญจวน หอมสดชื่น โดยเฉพาะในวังหลวง จะมีพนักงานฝ่ายในที่ดูแลเกี่ยวกับเครื่องหอมต่าง ๆ สำหรับพระมหากษัตริย์เป็นตำแหน่งที่เรียกว่า “พนักงานพระสุคนธ์ ” ที่เป็นคนคอยควบคุมดูแลโดยเจ้านายฝ่ายใน และรับผิดชอบตั้งแต่น้ำสรง น้ำอบ ไปจนถึงการอบร่ำพระภูษาและผ้าคลุมพระบรรทมต่าง ๆ ให้หอมจรุงอยู่ตลอดเวลา
น้ำอบชาวบ้าน
ความหอมของน้ำอบนั้นเป็นที่เลื่องลือมาก สาวชาววังสมัยนั้นจะมีกลิ่นกายหอมยวนใจด้วยน้ำอบและแป้งร่ำซึ่งมักจะทิ้งกลิ่นหอมเอาไว้เสมอ ทำให้สาวๆ ชาวบ้านอยากมีกลิ่นกายหอมเหมือนสาวชาววังบ้างจึงมีการนำน้ำอบออกมาจำหน่ายนอกวัง ทำให้ส่งผลให้ชาวบ้านได้รู้จักใช้น้ำอบเช่นกัน ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านจะใช้หลังจากอาบน้ำเสร็จและจะนำน้ำอบมาผสมกับแป้งร่ำหรือแป้งนวล แล้วนำมาประตามเนื้อตัว ซึ่งจะทำให้กลิ่นกายหอมสดชื่น เนื้อตัวลื่นสบาย เหมาะสำหรับเมืองร้อนอย่างบ้านเรามาก
น้ำอบนางลอย
สำหรับน้ำอบไทยที่อย่าง “น้ำอบนางลอย ” เจ้าของตำนานน้ำอบแบบชาวบ้านที่มีมานานกว่า 85 ปี โดยเจ้าของต้นตำหรับคือ นางเฮียง ชาวไทยเชื้อสายจีน เป็นผู้เปิดตำนานน้ำอบนางลอยขึ้นมา โดยนางเฮียงได้สูตรน้ำอบของชาววังจากเพื่อนที่อยู่ในวัง ซึ่งมีการสอนให้หวังว่าจะให้นางเฮียงนำไปประกอบอาชีพ เมื่อนางเฮียงปรุงน้ำอบออกมาขายอยู่หน้าตลาดนางลอย กลิ่นหอมๆ ที่ล่องลอยไปไหนต่อไหนจนทำให้ถูกอกถูกใจชาวบ้านและพูดกันปากต่อปากทำให้คนรู้จักกันทั้งเมือง และนั่นเป็นที่มาของ” น้ำอบนางลอย ” ซึ่งเอกลักษณ์ของน้ำอบนางลอยคือ กลิ่นหอมที่คุ้นเคย และคุณภาพน้ำไม่ดำ ซึ่งเป็นสูตรลับเฉพาะตกทอดตั้งแต่ยุคนางเฮียง จากการใช้สมุนไพรต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น กะดังงา , มะลิ ต่อมามีการพัฒนาใช้หัวน้ำหอมจากต่างประเทศแทน เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว แต่กลิ่นที่ได้ไม่เปลี่ยนไปจากเดิม