สาระน่ารู้

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

หากเอ่ยถึงอาหารไทยแน่นอนว่าจะต้องขึ้นชื่อในเรื่องรสชาติที่กลมกล่อม จัดจ้าน ที่มาพร้อมกับกลิ่นเครื่องเทศสมุนไพรเรียกว่าเป็นอาหารเรียกน้ำย่อย ที่มาพร้อมกับคุณค่าทางโภชนาการ เพราะอาหารไทยอุดมไปด้วยสมุนไพรและเครื่องเทศสดที่มีสรรพคุณทางยาและให้กลิ่นหอม ๆ เฉพาะตัว บวกกับวิธีทำอาหารไทยก็ไม่ยาก แต่วิธีการทำอาหารไทยให้อร่อยและหอมเครื่องแกงนั้น จะต้องเริ่มต้นจากเครื่องเทศและสมุนไพร ด้วยการพิถีพิถันในการเลือกซื้อและเลือกเครื่องปรุงที่สดใหม่ เพื่อดึงกลิ่นของความหอมและรสชาติของสมุนไพรให้ออกมาอย่างเต็มที่

การเลือกสมุนไพรและเครื่องเทศเพื่อให้ได้ความหอมจากธรรมชาติ

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

พริกขี้หนูหรือ พริกขี้หนูสวน เป็นพริกที่มีขนาดเล็ก รสเผ็ด แต่มีกลิ่นหอม เลือกพริกที่มีขั้วเขียวสด เลือกส่วนหัวที่ขาว เพราะแสดงว่าเป็นพริกที่เพิ่งเด็ดขั้วใหม่ๆ ส่วนพริกชี้ฟ้าสีเขียว สีแดง เลือกซื้อพริกที่ผิวเปลือกสดๆ เต่งตึง ไม่เหี่ยว และเนื้อพริกหนา ขั้วมีสีเขียวสดนำมาหั่นหรือแกะสลักสำหรับตกแต่งจานอาหาร และนำมาเป็นส่วนประกอบในแกงและผัด

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

ผักชีฝรั่ง เลือกใบเรียวยาวและขอบใบเป็นหยักๆ คล้ายฟันเลื่อยส่งกลิ่นหอม ทานเป็นผักสดพร้อมน้ำพริก หรือนำมาทำ ลาบ ยำ และยังนำมาซอยใส่ต้มยำ ต้มแซ่บ จะช่วยดับกลิ่นคาวของปลา เนื้อหรือหมู ให้เลือกซื้อที่มีใบอ่อนมากกว่าใบแก่

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

ผักชี เป็นผักกลิ่นหอม เลือกใบเขียวอ่อนสดๆ และมีรากติดอยู่ การเก็บผักชีให้สดและเก็บได้นาน ต้องล้างรากให้สะอาด ห่อด้วยกระดาษ หรือแช่รากลงในถังน้ำช่วยให้ผักชีสด เมื่อผักชีฟื้น ให้ทำต้นผักชีให้สะเด็ดน้ำแล้วจึงห่อใส่ถุงพลาสติกแช่ตู้เย็น ส่วนรากผักชี ให้เลือกใช้รากขนาดกลาง รากใหญ่จะมีเส้นใยมาก ส่วนรากเล็กกลิ่นไม่หอมแรง เมื่อใช้ปรุงอาหารต้องตัดจากโคนรากขึ้นมา นำไปทุบใส่น้ำซุป หรือหั่นก่อนโขลกละเอียดเพื่อใส่หมูบะช่อ หรือใส่น้ำจิ้มซีฟู้ด

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

กระเทียม มีทั้งกระเทียมไทย หัวเล็ก มีกลิ่นฉุน และรสเผ็ด เปลือกบาง ส่วนกระเทียมจีนหัวใหญ่ ที่แกะแล้วหากทำอาหารเป็นประจำควรเลือกซื้อหัวกระเทียมที่เปลือกใสมากกว่า และควรแขวนในบริเวณอากาศถ่ายเท จะทำให้กระเทียมไม่ฝ่อ
และมีกลิ่นหอม

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

หอมแดง ให้เลือกหัวที่แห้ง ไม่ฝ่อ และไม่มีเชื้อรา จะมีกลิ่นรสความเผ็ดจากน้ำมันหอมละเหย หากต้องการกลิ่นฉุนมากๆ อาจเลือกหัวที่มีเปลือกสีม่วงแดงเป็นมันเงา หากต้องการรสหวานก็เลือกหัวที่เปลือกสีส้มปนเหลือง

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

ข่า จะมีกลิ่นหอมฉุน ข่าอ่อนควรเลือกแง่งที่อ้วน สด และมีเปลือกมีสีชมพูปนขาว สามารถใช้เล็บจิกเนื้อได้ แต่ก่อนนำไปปรุงอาหารต้องล้างให้สะอาด เมื่อหั่นหรือซอยแล้วให้บีบมะนาวลงไป ข่าจะเปลี่ยนเป็นสีชมพูน่ากินมาก ส่วนข่าแก่ต้องเลือกเปลือกสีน้ำตาล ให้กลิ่นหอมต่างกัน

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

ตะไคร้ เลือกต้นอวบๆ โคนต้นมีสีม่วงเรื่อๆ กาบใบไม่เหี่ยว ส่วนเนื้อตะไคร้จะมีน้ำและมีกลิ่นหอม ก่อนซอยต้องลอกกาบใบด้านนอกออก เอียงมีดเล็กน้อยจะช่วยให้ซอยง่ายขึ้น

เคล็ดลับอาหารไทยอยู่ที่ความหอมของสมุนไพรและเครื่องเทศ

ลูกมะกรูด ใบมะกรูด ควรเลือกใบที่ไม่อ่อน สด มีความนุ่ม และเป็นมัน หั่นหรือฉีกใส่อาหารทันทีจะให้กลิ่นหอม เลือกลูกมะกรูดแก่ที่ผิวขรุขระ เป็นมัน ฝานบางๆ แล้วเอาแต่ผิวโขลกใส่ในน้ำพริกแกง จะทำให้มีกลิ่นหอมมาก

เมื่อเรียนรู้วิธีการใช้ วิธีการเลือกและวิธีการจัดเก็บ เครื่องเทศและสมุนไพรที่มีความจำเป็นสำหรับอาหาร แล้ว การดึงรสชาติของจานอาหารไทยให้ได้รสกลมกล่อมและลงตัวที่มีเอกลักษณ์พิเศษเฉพาะจานจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป