จากความมหัศจรรย์ของกลิ่นหอมที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ ปกติแล้วกลิ่นหอมๆ มักถูกสกัดด้วยกระบวนการทางเคมี ที่ผ่านหลายขั้นตอน แต่ใครจะรู้ว่า กลิ่นหอมๆ ประเภทพืชสมุนไพร ดอกไม้ ต้นไม้ และพืชผักสวนครัวทำให้เราไม่จำเป็นต้องไปซื้อเครื่องหอมราคาแพงๆ ก็ได้ แค่เลือกปลูกไว้ซักต้นสองต้น ก็จะทำให้รู้สึกถึงความหอมลอยมาเตะจมูกแล้ว นอกจากความหอมที่จะได้จากสมุนไพร หรือดอกไม้ที่มีกลิ่นหอมธรรมชาติแล้ว พืชผักบางชนิดก็สามารถให้กลิ่นหอมที่ไม่แพ้กับสมุนไพรทั้งหลาย
ความหอมของพืชผักบางชนิด บางคนอาจไม่ชอบกลิ่นของมันซักเท่าไหร่ เพราะขึ้นชื่อว่าผักทำให้ถูกนึกถึงกลิ่นเหม็นเขียว และบรรดาเครื่องแกง หรือเครื่องเทศทั้งหลาย โดยเฉพาะกลิ่นเครื่องเทศแห้งในแกง อย่างกลิ่นยี่หร่า จะเป็นกลิ่นที่เด่นชัดขึ้นมาในแกงกะหรี่ที่ชาวญี่ปุ่นนิยม แต่กลิ่นหอมๆ ไม่ได้มีแต่ในเครื่องเทศเท่านั้น เพราะบ้านเรามีพืชผักที่มีกลิ่นหอมมาก มาย อาจจะแตกต่างกันบ้างตามภาคต่างๆ ผักบางชนิดนำมาใส่ในแกงเพียงเพื่อแต่งกลิ่น หรือจะนำมารับประทานสดเป็นเครื่องเคียงกับลาบ กับน้ำพริก ซึ่งผักแต่ละชนิดจะให้ความหอมแตกต่างกันไป
ผักหอมประจำภาคเหนือ
ภาคเหนือ ที่เรามักจะพบเห็นผักที่มีกลิ่นหอมในตลาดและมีชื่อตามท้องถิ่นก็มี หอมป้อม หรือผักชี , หอมป้อมเป้อ (ผักชีฝรั่ง), หอมแย, ผักไผ่, หอมด่วน (สะระแหน่), ผักชี (ผักชีลาว), ผักหละ (ใบชะอม), ใบก้อมก้อ (ใบแมงลัก), ผักปูนก (ใบชะพลู), ใบจันจ่อ (ใบกระเพราช้าง), ผักคาวตอง, รากคิวผักปู่ย่า (ช้าเลือด)
ผักหอมประจำภาคกลางและตะวันออก
ผักหอมๆ ยอดนิยมของภาคกลางและภาคตะวันออก มีใบโหระพา, ใบกะเพราะ, ใบชะอม, ใบชะพลู, ใบแมงลัก, ใบกระเพราช้าง, ผักกระถิน, ใบมะกรูด, ตะไคร้, ใบสะระแหน่, ต้นหอม, ขิง, ข่า, ผักชี, กระชาย
ผักหอมภาคอีสาน
ความหอมของผักทางภาคอีสานมีหอมบัว (ต้นหอมแดง), ผักขะแยง, ผักเม็ก, ผักอีตู่ (ใบแมงลัก), ผักสะแงะ หรือผักเสิม (สะระแหน่), ผักขา (ชะอม), ผักแป้น (ใบกุยช่าย), ผักสะแงะ (สกลนคร – หอมแย้), ผักชีลาว, หอมเป (ผักชีฝรั่ง), ผักอีเลิด (ใบชะพลู), ตะไคร้, ผักอีตู่ไทย (เหมือนใบกระเพรา), ผักชีล้อม, ผักแพว (ผักไผ่), ใบมะกรูด, กระชาย, ผักขะญ่า (ช้าเลือด), ผักกะเสด (กระถิน), ผักสัง (มะสัง), หูเสือ
ผักหอมภาคใต้
ภาคใต้มีผักกลิ่นหอมอย่าง หมุย, ทำมัง, ดอกดาหลา, สะตอ, ผักจันทร์หอม (ผักแพว ผักไผ่), ลูกเหรียง, ใบพาหม, ใบยี่หร่า (กะเพราช้าง), ผักชีล้อม, ผักมะสัง, ยอดเหม็ดชุน (ผักเม็ก), ใบยำแย้ (หอมแย้)
ประโยชน์ที่จะได้จากผักหอมๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผักพื้นบ้าน นอกจากกกลิ่นหอมๆ แล้วผักหอมเหล่านี้มีคุณสมบัติต้านสารอนุมูลอิสระ ส่วนผักหอมที่ใช้ในเครื่องแกงไทยจะมีฤทธิ์ในการต้านสารอนุมูลอิสระ และช่วยเสริมเครื่องแกงอื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ที่สำคัญยังมีส่วนช่วยชูกลิ่นรสอาหารให้โดดเด่น และทำให้สุขภาพของผู้บริโภคให้แข็งแกร่งด้วย